การคำนวณหางาน
ถ้าเราทราบขนาดของแรงที่กระทำต่อวัตถุ
และระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปได้หลังจากถูกแรงกระทำแล้ว
เราสามารถคำนวณหาปริมาณของงานได้จาก
งาน
= แรง x ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ตามทิศทางของแนวแรง
ถ้ากำหนดให้
F = แรงที่กระทำให้วัตถุเคลื่อนที่
s = ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ตาม
ทิศทางของแนวแรง
W = งานที่ทำได้
นั่นคือ
W = F3s
ตัวอย่างที่
1 นงนุชยกกล่องที่มีน้ำหนัก 20
นิวตัน ขึ้นจากพื้นไปวางบนชั้นหนังสือที่สูงจากพื้น 1.3
เมตร จงหางานที่นงนุชทำได้
วิธีทำ
F = 20 นิวตัน
s = 1.3
เมตร
จากสูตร
W = F x s
W = 20 N x
1.3 m
= 26 J
ดังนั้น
งานที่นงนุชทำได้มีค่าเท่ากับ 26 จูล
ตัวอย่างที่
2 ชายผู้หนึ่งดันตู้ที่มีน้ำหนัก 1,000
นิวตัน ให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า 0.5 เมตร จงคำนวณหางานที่ชายผู้นี้ทำได้
วิธีทำ
จากสูตร งานที่ทำ = แรง x ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่
แทนค่าในสูตร
งานที่ทำ = 1,000 N x 0.5 m
= 500 J
ดังนั้น
งานที่ชายผู้นี้ทำได้มีค่าเท่ากับ 500 จูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น